แบบประเมินผลการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของ
ผู้บริหารระดับคณะและหน่วยงานเทียบเท่า
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำชี้แจง

แบบประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความคาดหวังของบุคลากร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการปฎิบัติตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารระดับคณะและหน่วยงานเทียบเท่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. ข้อมูลจากการแสดงความคิดเห็นจะนำมาประเมินผลเป็นภาพรวมโดยไม่มีการเปิดเผยข้อมูลการแสดงความคิดเห็นเป็นรายบุคคล/หน่วยงาน
  2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจะนำไปพัฒนาและปรับปรุงการบริหารงานของผู้บริหารระดับคณะและหน่วยงานเทียบเท่าในภาพรวมเท่านั้น ดังนั้นการตอบแบบสอบถามตามความเป็นจริงจะทำให้ผู้บริหารฯ สามารถปรับปรุงและพัฒนาการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปใช้ในการกำหนดทิศทางเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาองค์กร
  3. แบบประเมินมีทั้งหมด 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน ส่วนที่ 2 การประเมินสมรรถนะการบริหารงาน และส่วนที่ 3 ความคาดหวังและข้อเสนอแนะ

 

ข้อมูลทั่วไปของผู้ประเมิน
1. สถานะภาพผู้ประเมิน
  บุคลากรภายใน 

2. คณะฯ/หน่วยงาน
  ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
 ภาควิศวกรรมอุตสาหการและ MIM
 ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
 ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ฯ
 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
 สำนักงานเลขานุการ,ฝ่ายคอมพิวเตอร์ฯ และ MIT
 อื่นๆ 

3. สถานะภาพ
  บุคลากรสายวิชาการ
 บุคลากรสายสนับสนุน
 ผู้บริหาร/กรรมการประจำคณะฯ
 บุคคลอื่นๆ 


ส่วนที่ 1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน

ให้เลือกระดับคะแนนให้ตรงกับความคิดเห็นของท่านที่มีต่อผลงานการดำเนินงานตามภารกิจของผู้บริหารระดับคณะและหน่วยงานเทียบเท่า ที่เป็นการผลักดันให้องค์กรบรรลุผลสัมฤทธิ์ในประเด็นนั้นๆ

ส่วนที่ 2 การประเมินสมรรถนะการบริหาร

ให้เลือกระดับคะแนนให้ตรงกับระดับความคิดเห็นของท่านที่มีต่อพฤติกรรมการบริหารงานของผู้บริหารระดับคณะและหน่วยงานเทียบเท่า ตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารจัดการที่ดี 10 องค์ประกอบ ดังต่อไปนี้

( * ไม่สามารถให้คะแนนได้ )

คำถามของแบบประเมิน ระดับความพึงพอใจ
10987654321*
1.5 การบริหารบุคคล รวมทั้งการประเมินงานด้านอื่นๆ ในการดูแลและจัดการทรัพยากรบุคคล การกำหนดภาระงาน การสรรหา และการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณภาพและหลากหลาย
2.1 การบริหารงานที่มุ่งเน้นประสิทธิผล คือ ผลการปฎิบัติงานที่บรรลุวัตถุประสงต์และเป้าหมายของแผนการปฎิบัติราชการ มีกระบวนการปฎิบัติงานและระบบงานที่เป็นมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2.4 การบริหารงานด้วยความรับผิดชอบต่อองค์กรและปัญหาสาธารณะ คือ การแสดงความรับผิดชอบในการปฎิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสำนึกในการรับผิดชอบต่อปัญหาสาธารณะ
2.7 การบริหารงานโดยใช้หลักการกระจายอำนาจ คือ การถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจ ทรัพยากรและภารกิจให้แก่ผู้ร่วมงานบริหารอย่างเหมาะสม มุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีการปรับปรุงกระบวนการและเพิ่มผลิตภาพเพื่อผลการดำเนินงานที่ดีขององค์กร
2.10 การบริหารงานโดยมุ่งเน้นฉันทามติ คือ การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
2.3 การบริหารงานที่มุ่งเน้นการตอบสนอง คือ การให้บริการที่สามารถดำเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด และสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวังหรือความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่าง
1.3 การจัดทำแผนพัฒนาองค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ที่เหมาะสมและนำสู่การปฎิบัติได้จริง
1.4 การนำข้อแนะนำหรือนโยบายจากมหาวิทยาลัยสู่การปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.8 การบริหารงานโดยใช้หลักนิติธรรม คือ การใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ในการบริหารราชการด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฎิบัติและคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1.1 การมีบทบาทในการเป็นผู้นำและผู้กำหนดทิศทางขององค์กร

ส่วนที่ 1 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน
 
1.6 การบริหารงานที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและมีผลการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดผลการปฎิบัติงานหลัก
1.9 การสื่อสารหรือสร้างความเข้าใจกับคนในองค์กรอย่างทั่วถึง
1.2 การสร้างความเป็นเอกภาพ (unity) ขององค์กร
1.7 การบริหารจัดการด้วยความประหยัด มีประสิทธิภาพ มีการจัดสรรทรัพยากรที่สอดคล้องกับแผนงาน สามารถบริหารงานที่มีประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
1.8 การใช้วิธีการหรือกลไกในการติดตามความคืบหน้าของงานอย่างมีประสิทธิภาพ
1.10 ประสิทธิภาพโดยรวมในการบริหารงานของผู้บริหารระดับคณะและหน่วยงาน
2.2 การบริหารงานที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพ คือ การบริหารราชการตามแนวทางการกำกับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบกระบวนการปฎิบัติงานโดยใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์กรสามารถใช้ทรัพยากรทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฎิบัติราชการตามภารกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
2.5 การบริหารงานด้วยความโปร่งใส คือ กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัยและสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้
2.6 การบริหารงานโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม คือ กระบวนการที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหาหรือประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมการแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจและร่วมกระบวนการพัฒนา
2.9 การบริหารงานโดยใช้หลักความเสมอภาค คือ การส่งเสริมการดำเนินงานให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้รับการปฎิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฎิบัติ

ส่วนที่ 2 การประเมินสมรรถนะการบริหาร
 


ส่วนที่ 3 ความคาดหวังและข้อเสนอแนะ

คำถามข้อเสนอแนะและความคิดเห็น

2. สิ่งที่คณะและหน่วยงานเทียบเท่าควรดำเนินการเพิ่มเติม

1. ท่านคิดว่าผู้บริหารระดับคณะและหน่วยงานเทียบเท่าควรมีคุณสมบัติเด่นอย่างไรที่มีความสำคัญยิ่งต่อการบริหารและการพัฒนามหาวิทยาลัยต่อไปในอนาคต